วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 8

สถานที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน

วันที่ 21 - 25 ธ.ค. 52

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้งานรับคำร้องจากผู้ใช้ไฟ ที่มาติดต่อกับทางแผนกบริการค่อนข้างเยอะมาก เนื่องจากใกล้ปีใหม่ลูกค้าจึงมาติดต่อขอใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งลูกค้าแต่ละรายก็ต้องการที่จะทำเรื่องคำร้องให้เสร็จก่อนปีใหม่ จึงทำให้งานเยอะแยะและวุ่นวายในการทำงานนิดหน่อย แต่งานทั้งหมดก็สำเร็จเรียบร้อยไปด้วยดีทุกงาน
ปัญหา : หลักฐานที่ลูกค้านำมายื่นในเรื่องขอใช้ไฟฟ้านำมาไม่ครบ จึงทำให้ไม่สามารถทำเรื่องคำร้องขอไฟฟ้าประเภทต่างๆที่ลูกค้ามาติดต่อให้ได้
การแก้ไขปัญหา : อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างในการยื่นเรื่องคำร้องประเภทที่ลูกค้ามาติดต่อ

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 7

สถานที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน
วันที่ 14 - 18 ธ.ค. 52

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้งานรับคำร้องจากผู้ใช้ไฟ ที่มาติดต่อกับทางแผนกบริการค่อนข้างเยอะมาก เนื่องจากมีหมู่บ้านจัดสรรมาติดต่อขอติดตั้งมิเตอร์ใหม่ ซึ่งในสัปดาห์ก็มีพนักงานในแผนกไปอบรมที่ต่างจังหวัด งานรับคำร้องก็มีลูกค้ามาติดต่อขอคำร้องประเภทต่างๆเป็นจำนวนมาก จึงทำให้งานเยอะแยะและวุ่นวายในการทำงานนิดหน่อย แต่งานทั้งหมดก็สำเร็จเรียบร้อยไปด้วยดีทุกงาน
ปัญหา : หลักฐานที่ลูกค้านำมายื่นในเรื่องขอใช้ไฟฟ้านำมาไม่ครบ จึงทำให้ไม่สามารถทำเรื่องต่อให้ได้
การแก้ไขปัญหา : อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างในการยื่นเรื่องคำร้องประเภทที่ลูกค้ามาติดต่อ

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 6

สถานที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน

วันที่ 7-11 ธ.ค.52


สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้ข้าพเจ้าได้ไปฝึกงาน 3 วัน เพราะ มีวันหยุดชดเชยวันพ่อและวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งงานที่ข้าพเจ้าต้องรับผิดชอบในทุกๆวันที่ไปฝึกงาน คือ คีย์ข้อมูลคำร้องต่างๆที่ลูกค้ามาติดต่อ เดินไปส่งเอกสารยังแผนกต่างๆ และรับโทรศัพท์
ปัญหา : ลูกค้ายังไม่ถ่ายสำเนาเอกสารที่จะยื่นเรื่องคำร้องและบางคนก็เตรียมเอกสารที่จะมายื่นเรื่องคำร้องไม่ครบ

การแก้ไขปัญหา : อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่าต้องใช้เอกสารใดบ้างในการยื่นเรื่องคำร้องประเภทที่ลูกค้ามาติดต่อ และต้องถ่ายสำเนาเอกสารมายื่นเรื่องคำร้องด้วย

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 5

สถานที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน

วันที่ 30 พ.ย. 52 - 4 ธ.ค. 52

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ คือ งานที่ข้าพเจ้าได้ทำในสัปดาห์นี้ก็เหมือนกับในสัปดาห์ก่อนๆ คือ รับโทรศัพท์ เดินไปส่งเอกสารยังห้องปฏิบัติการบริการเพื่อให้หัวหน้าแผนกบริการเซนต์อนุมัติคำร้องขอใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่ทางลูกค้าได้มาติดต่อไว้ และหน้าที่หลักก็คีย์ข้อมูลคำร้องต่างๆที่ลูกค้ามาติดต่อ ในสัปดาห์ลูกค้ามาติดต่อเรื่องติดตั้งมิเตอร์ใหม่เยอะมาก เพราะเป็นของหมู่บ้านจัดสรร ในสัปดาห์นี้งานที่แผนกบริการจึงค่อนข้างยุ่งๆนิดหน่อย แต่งานก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ปัญหา : ลูกค้าเตรียมเอกสารมายื่นเรื่องคำร้องไม่ครบ ส่วนมากจะเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการมอบอำนาจมาเพื่อขอใช้ไฟฟ้า เช่น การขอโอนเปลี่ยนชื่อ ต้องมีเอกสารทั้งเจ้าของเดิมและเจ้าของใหม่มายื่นเรื่อง เป็นต้น
การแก้ปัญหา : ให้ผู้มายื่นเรื่องนำหนังสือมอบอำนาจไปให้เจ้าของเดิมเซนต์และนำเอกสารหลักฐานของเจ้าของเดิมมายื่นเรื่องด้วย

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23-27 พ.ย. 52

สถานที่ฝึก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้งานที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ คือ การคีย์ข้อมูลคำร้องการขอใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเภทของลูกค้าแต่ละคนที่มาติดต่อ จัดเรียงเอกสารคำร้อง กรอกรายละเอียดต่างๆในใบคำร้องแต่ละเรื่อง เดินไปส่งเอกสารที่ห้องปฏิบัติการบริการลูกค้าเพื่อให้หัวหน้าแผนกเซนต์อนุมัติคำร้องของลูกค้าที่มาติดต่อ

ปัญหา : ลูกค้าเตรียมเอกสารมายื่นคำร้องไม่ครบ และเอกสารที่เตรียมมาก็มักจะไม่ถ่ายเอกสาร

การแก้ปัญหา : บอกกับลูกค้าว่าจะต้องนำเอกสารอะไรบ้างมาใช้ยื่นคำร้อง และบอกให้ถ่ายสำเนาเอกสารที่จะนำมายื่นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16-20 พ.ย. 2552

สถานที่ฝึก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ : ในสัปดาห์นี้ข้าพเจ้าสามารถคีย์ข้อมูลคำร้อง จัดเรียงคำร้อง กรอกรายละเอียดต่างๆในใบคำร้องแต่ละเรื่องได้แล้ว ถึงแม้บางครั้งจะเรียงเอกสารสลับกันไปบ้างก็ตาม แต่พวกพี่ๆเค้าก็บอกว่า ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ทำได้ถูกต้องเอง งานบริการลูกค้าต้องใจเย็นและอดทนกับงานที่ทำ เพราะลูกค้าแต่ละคนก็มีอารมณ์ที่แตกต่างๆกันไป

ปัญหา : ลูกค้ามักจะไม่ได้ถ่ายเอกสารที่จะมายื่นทำคำร้องขอใช้ไฟฟ้า

การแก้ปัญหา : บอกกับลูกค้าว่าจะต้องถ่ายเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องใช้ยื่นทำคำร้องขอใช้ไฟฟ้า และบอกทางไปร้านถ่ายเอกสารให้กับลูกค้าด้วย

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์ สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9 -13 พ.ย. 2552
สถานที่ฝึก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกระทุ่มแบน
สัปดาห์ที่ 2 ของการฝึกงานข้าพเจ้ารู้สึกเริ่มจะปรับตัวเข้ากับงานที่ต้องรับผิดชอบได้บ้างแล้ว สัปดาห์นี้ข้าพเจ้าสามารถคีย์ข้อมูลคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้เองบ้างแล้ว แต่ถ้ามีตรงส่วนใดของงานที่ทำ ยังไม่เข้าใจก็จะถามพี่พนักงานคนอื่น ซึ่งพี่ๆ ก็ค่อยๆอธิบายจนเข้าใจและสามารถทำงานได้จนสำเร็จ


ปัญหาที่พบ : ลูกค้าที่มาใช้บริการที่แผนกบริการ บางคนยังไม่เข้าใจในกฎระเบียนการทำงานของการไฟฟ้า ว่าจะต้องยื่นเรื่องและเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง ในการมาติดต่อขอใช้ไฟฟ้า


การแก้ไขปัญหา : อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่า จะต้องทำอย่างไรและต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างมาใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่1

สิ่งที่ได้จากการฝึกประสบการณ์ คือ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมของการทำงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีอายุมากกว่าและประสบการณ์การทำงานที่มากกว่าข้าพเจ้า ซึ่งในการทำงานสอนให้ข้าพเจ้าใจเย็นและค่อยๆทำงานด้วยความรอบครอบเพราะจะได้งานที่ดีมีประสิทธิภาพ และสอนให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย

ปัญหา คือ ในการคีย์ข้อมูลคำร้องขอใช้ไฟฟ้า จะต้องมีการแยกประเภทและใส่รหัสในข้อมูล ซึ่งข้าพเจ้ายังจำรหัสไม่ค่อยได้และในการทำงานยังรู้สึกแกร่งๆอยู่

การแก้ไขปัญหา คือ พยายามค่อยๆปรับตัวและเรียนรู้การทำงานไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้ามีปัญหาในการทำงานก็ถามพี่ๆพนักงานเพื่อจะได้ทำงานได้ถูกต้องและทำงานด้วยความรอบครอบเสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องซีพียู CPU
ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วย เพื่อให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล
หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units) คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้
1.ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด คำสั่งทุกคำสั่งที่ ไมโครโพรเซสเซอร์รับมาประกอบจากคำสั่งหลายๆคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์คอมไพล์มาจากภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น (BASIC, COBAL, C) เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจคำสั่งเหล่านี้ จะต้องแปลงให้เป็นไบนารีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน decode unit ของไมโครโพรเซสเซอร์
2.แอดเดรส คือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำ หรือ Storage ข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลจะแสดงด้วยแอดเดรสของข้อมูล ไม่ใช่ค่าจริงๆของข้อมูล
3.บัส ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) หรือระบบบัส (system bus) ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หน่วยความจำหลักและซีพียู ภายในซีพียูเองก็มีบัสภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างย่อยในชิป
4.หน่วยความจำแคช แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก โปรเซสเซอร์จะมีแคช 2 แบบคือ แคชระดับหนึ่ง (Primary cache หรือ L1) และแคชระดับสอง (secondary cache หรือ L2) ต่างกันตรงตำแหน่ง โดย L1 cache อยู่บนซีพียู เรียกว่า on-die cache ส่วน L2 cache อยู่บนเมนบอร์ด เรียกว่า off-die แต่ในปัจจุบัน L2 cache เป็น on-die กันแล้ว หน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บคำสั่งและข้อมูลก่อนที่จะส่งให้ซีพียู
5.ความเร็วสัญญาณนาฬิกา หมายถึงจำนวนรอบที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไปหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดงด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที (โปรเซสเซอร์คนละชนิดหรือคนละรุ่นถึงแม้จะมีสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่อาจเร็วไม่เท่ากันก็ได้ เพราะมีโครงสร้างภายในและชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน)
6.รีจิสเตอร์ เป็นหน่วยความจำไดนามิกขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ หรือส่งไปแสดงผลให้แก่ยูสเซอร์
7.ทรานซิสเตอร์ เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยชั้นของวัสดุที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ซึ่งสามารถขยายกระ แสไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ต่อ
8.Arithmetic logic unit (ALU) เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ การเปรียบเทียบ เชิงตรรกะเป็นการเปรียบเทียบค่าไบนารีเพื่อหาว่า ควรจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเกตบางตัวในวงจรของโปรเซสเซอร์หรือไม่ การทำงานอยู่ในรูปแบบของ
"ถ้า x เป็นจริง และ y เป็นเท็จ แสดงว่า z เป็นจริง"
9.Floating - Point Unit (FPU) มีหน้าที่จัดการกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม หรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วน การคำนวณเลขทศนิยมมักเกิดขึ้นเมื่อพีซีรันโปรแกรมพวกกราฟฟิก เช่นโปรแกรม CAD หรือเกมส์ 3 มิติ
10. Control Unit หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ
fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู
decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit
execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม
store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม
11. Decode unit รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล
ซีพียูในเครื่องพีซีทั่วไปจะเป็นชิปไอซี (IC-Integrated Circuit) ตัวเล็กขนาดวางบนฝ่ามือได้ซึ่งเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ในตระกูลที่เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท อินเทล ที่เรียกกันว่าตระกูล 80x86 (x หมายถึงตัวเลขใด ๆ) เริ่มต้นตั้งแต่ 8086,80286,80386,80486 จนถึงรุ่นใหม่ที่ตอนพัฒนาใช้ชื่อรหัสว่า P5 แต่พอวางตลาดจริงก็เปลี่ยนชื่อจากเดิมที่จะเป็น80586 หรือ 586 ไปเป็น"เพนเทียม" (Pentium) ด้วยเหตุผลทางการค้าทีว่าชื่อ 586 เป็นเพียงตัวเลข 3 ตัว ไม่สามารถสงวนสิทธิ์การใช้งานและห้ามการลิกเลียนแบบในฐานะเครื่องหมายการค้าได้ รวมถึงรุ่นล่าสุดที่พุฒนาต่อจาก Pentium หรือ P6 คือ ตระกูล ซึ่งประกอบด้วย Pentium Pro และ Pentium II Pentium III, Pentium 4 processor และ ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีซีพียูจกบริษัทคู่แข่งอกจำหน่าย นั่นคือ Advance Micro Device หรือ AMD และยังรวมถึงรายย่อยอีก 2 ราย คือ Cyrix และ IDT ซึ่งทั้งสองรายนี้ปัจจุบันขายกิจการให้ VIA ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของไต้หวันไปแล้ว
พัฒนาการของซีพียู
บริษัทอินเทลเป็นบริษัทแรกในการผลิตซีพียู ซึ่งได้พัฒนาซีพียูรุ่นต่างๆ ออกมา โดยให้ชื่อรุ่นเป็นตัวเลขเช่น
- 8080
- 8088
- 8086
- 80286 ประมวลผลได้เร็วกว่า 8080ไม่น้อยกว่า 5 เท่า
- 80386 เป็นซีพียูตัวแรกที่ประมวลผลแบบ 32 บิตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS มีชุดคำสั่งสำหรับจัดการหน่วยความจำในลักษณะที่จะให้โปรแกรมหลายตัวสามารถทำงานไปได้พร้อมๆ กัน (Multitasking) ในโปรเท็กต์โหมด (Protected Mode) นอกจากนี้ 80386 ยังสามารถจำลองการทำงานของ 8088 หลายๆ เครื่องได้ในเวลาเดียวกัน ในรุ่น 80386 แบ่งย่อยไปอีกเป็น 3 รุ่นย่อยคือ 80386DX, 80386 SX และ 80386 SL
ต่อมาบริษัทเอเอ็มดีได้ผลิตซีพียูออกมา โดยมีชื่อรุ่นเหมือนของอินเทลคือ 80386 ซึ่งมีความเร็วเท่ากับของอินเทลแต่มีราคาถูกกว่า เมื่ออินเทลได้ผลิต 80486 บริษัทเอเอ็มดีจะผลิตตามอินเทล ทำให้อินเทลต้องเปลี่ยนชื่อรุ่นการผลิตที่ออกมาใหม่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น เพนเทียม (Pentium) บริษัทเอเอมดีจึงได้ตั้งชื่อรุ่นซีพียูของตนว่า K5 หลังจากนั้นอินเทลได้ออกซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ระบบเครือข่ายชื่อ Pentium Pro และได้พัฒนาชุดคำสั่งด้านมัลติมีเดียที่ชื่อ MMX บรรจุลงในซีพียูเนื่องจากซีพียูของอินเทลมีราคาสูง กลุ่มผู้ใช้ที่มีรายได้ต่ำจึงนิยมใช้ของเอเอ็มดี ซึ่งมีราคาถูกกว่า อินเทลจึงได้ลดต้นทุนการผลิต Pentium II โดยการตัดหน่วยความจำแคช L2 ออก ต่อมาอินเทลได้ผลิต Pentium III และ Pentium III Xeon ปัจจุบันซีพียูรุ่นใหม่ที่อินเทลผลิตคือ Pentium IV ความเร็ว 1.5 GHz ส่วน เอเอ็มดีหลังจากผลิต K5 แล้วได้ผลิต K6, K6-2 และมีชุดคำสั่งด้านมัลติมีเดียที่ชื่อ 3 D Now บรรจุไว้ใน K6-2 ต่อมาได้ผลิต K6-3 และ K7 ในปัจจุบัน
สำหรับ Cyrix นั้นได้ผลิตซีพียู รุ่น M I และ M II ซึ่งมีราคาถูกกว่าของอินเทลและของเอเอ็มดีเป็นอย่างมาก ปัจจุบันCyrix ได้ผลิตซีพียูรุ่น M III
การจำแนกซีพียู
ซีพียูที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมีอยู่ 3 บริษัทคือ Intel AMD และ Cyrix ซี่งซีพียูของแต่ละบริษัทจะแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆ ซึ่งอาจใช้ตัวเลขอนุกรมเป็นรหัสรุ่น เช่น 286, 386, 486 หรือใช้ชื่อเฉพาะ เช่น Pentium, Thunderbird ในแต่ละรุ่นอาจแบ่งเป็นรุ่นย่อยๆ ลงไปอีก ในแต่ละรุ่นยังแบ่งตามตามความเร็วของซีพียูอีกด้วย
ซีพียูรุ่นต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีดังนี้
80486
เป็นซีพียูที่มีหน่วยความจำแคช L1 อยู่ในตัวซีพียูขนาด 8 K และมีหน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ภายในตัว (Coprocessor) ทำให้ 80486 ประมวลผลคณิตศาสตร์ซับซ้อนได้เร็วกว่า 80386 หลายเท่า



Celeron
Celeron แบ่งตามระดับความเร็วได้ดังนี้คือ 800, 766, 733, 700, 667, 633, 600, 566, 533, 533A และ 500 MHz (Intel Celeron Processor Tech Info 2001: 1) เป็นซีพียูที่ปรับปรุงมาจาก Pentium II แบ่งออกเป็น 3 รุ่นด้วยกันประกอบด้วย Covington, Mendocino และ Coppermine ซึ่ง Covington ไม่มีหน่วยความจำแคชติดตั้งอยู่ภายในซีพียูทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมลดลงมาก ต่อมาอินเทลได้พัฒนาเซเลอรอนรุ่น Mendocino ซึ่งได้ติดตั้งหน่วยความจำแคช L2 ขนาด 128 Kไว้ในตัวชิปและใช้สัญญาณนาฬิกาเท่ากับซีพียู ทำให้ซีพียูรุ่นนี้มีการทำงานที่ดีขึ้นและราคาไม่แพง ในขณะที่ประสิทธิภาพการทำงานใกล้เคียงกับซีพียูเพนเทียม ทู ปัจจุบันอินเทลได้ผลิตเซลเลอรอน Coppermine ซึ่งได้พัฒนาภายใต้พื้นฐานเดียวกับเพนเทียม ทรี Copermine แต่แตกต่างกันที่เซลเลอรอนทำงานกับ FSB ที่ความเร็ว 66 MHz และหน่วยความจำแคช L2 ขนาด 128K โดยเซลเลอรอนนั้นใช้สัญญาณนาฬิกาที่ระบบบัส (FSB) ที่ 66 เมกะเฮิรตซ์ เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.18 ไมครอน โดยรุ่นแรกๆ ที่ออกมาจะใช้ซ็อกเก็ตแบบสล็อตวัน และมีความเร็วที่ 266 และ 300 MHz แต่เนื่องจากรุ่นนี้ได้ตัดหน่วยความจำแคช L2 ออกทำให้ประสิทธิภาพลดลงมากและไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด อินเทลจึงได้ใส่หน่วยความจำแคช L2 เข้าไปแต่มีขนาดความจุลดลงโดยมีขนาด 128 Kbและออกจำหน่ายที่ 300 และ 333 MHz



Pentium II
ใช้อินเทอร์เฟชแบบสล็อต มีความเร็วการทำงานอยู่ที่ 233-450 MHz โดยใช้ความเร็วของระบบบัสที่ 66 และ 100 MHz มีหน่วยความจำแคช L1 ขนาด 32 K มีหน่วยความจำแคช L2 ขนาด 512 K แต่หน่วยความจำแคช L2 นั้นทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของความเร็วซีพียู



Pentium III
Pentium III Processor มีอยู่ 9 ระดับความเร็วคือ1 GHz, 866, 850, 800, 750, 733, 700, 667, 650 MHz เทคโนโลยีการผลิตระดับ 0.13 ไมครอน ความเร็ว FSB 200 MHzใช้อินเทอร์เฟชแบบสล็อตวันและแบบ FC-PGA 370 มีหน่วยความจำแคช L1 ขนาด 32 K หน่วยความจำแคช L2 ขนาด 512 และมีความเร็วครึ่งหนึ่งของความเร็วซีพียู



Pentium IV
Pentium IV มีอยู่ 3 ระดับความเร็วคือ 1.5 GHz, 1.4 GHz และ 1.3 GHz (Intel Pentium 4 Procssor 2001: 1) ใช้ความเร็วระบบบัส 400 MHz มีการปรับปรุงระบบการคำนวณตัวเลขทศนิยม ทำให้สามารถทำงานทางด้านกราฟิกและการเล่นเกมได้ดีขึ้น มีการปรับปรุงหน่วยความจำแคช L1 ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและมีขนาดลดลงเหลือ 8K ซึ่ง หน่วยความจำแคช L1 ของ Pentium IV ทำงานได้เร็วกว่า หน่วยความจำแคช L1 ของ Pentium III ถึงหนึ่งเท่าตัว หน่วยความจำแคช L2 มีขนาด 256K มีการนำเทคโนโลยี NetBurst Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ซีพียูแบบ 32 บิตทำงานได้ดีขึ้น ส่วนระบบไปป์ไลน์เพิ่มจากขึ้นเป็นจาก 12 ไปป์ไลน์เป็น 20 ไปป์ไลน์


K6-2
K6-2 มีความเร็วที่ 166, 200, 233, 266, 300 MHz มีหน่วยความจำแคช L1ขนาด 64K ต่อมาได้มีการปรับปรุงชุดคำสั่งทางด้านกราฟิก 3D ซึ่งเรียกว่า 3D Now ขึ้นมาทำให้รุ่นหลังมีชื่อเป็น K6-2 3D Now มีความเร็วตั้งแต่266-500 MHz ทำงานที่ระบบบัส 66 และ 100 MHz โดยฝช้อินเทอร์เฟซแบบซ็อกเก็ต 7 มี หน่วยความจำแคช L1ขนาด 64K


K6-3
เอเอ็มดีได้ปรับปรุงเอาหน่วยความจำแคช L2 เข้าไปรวมในตัวซีพียู โดยมีขนาด 256K ทำงานที่ความเร็วเดียวกับสัญญาณนาฬิกาของซีพียู และมีการสนับสนุนหน่วยความจำแคชภายนอก ทำให้ K6-3 สนับสนุนหน่วยความจำแคชถึง 3 ระดับ และใช้ระบบอินเทอร์เฟชแบบซ็อกเก็ต 7



Athlon
Athlon มีความเร็วตั้งแต่ 600-1000 MHz ใช้อินเทอร์เฟชแบบสล็อตเอ มีหน่วยความจำแคช L1 ขนาด 128 K และ แคช L2 ขนาด 512K ติดตั้งอยู่ภายนอก ทำงานที่ความเร็ว FSB 200 MHz



Athlon Thunderbird
Athlon Thunderbird มีความเร็วตั้งแต่ 700-1200 MHzใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.18 ไมครอน และได้ปรับปรุงหน่วยความจำแคช L2 เป็น 256K ติดตั้งภายในตัวซีพียู ทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู ใช้อินเทอร์เฟซแบบซ็อกเก็ตเอ ทำงานที่ความเร็ว FSB 200-266 MHz

Duron
เป็นซีพียูที่ออกแบบมาสำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่มีกำลังซื้อน้อย มีความเร็วตั้งแต่ 600-750 MHz ใช้อินเทอร์เฟชแบบซ็อกเก็ตเอ ทำงานที่ความเร็ว FSB 200MHz มีหน่วยความจำแคชL1 ขนาด 128K หน่วยความจำแคช L2 ขนาด 64K

VIA Cyrix MIII
เป็นซีพียูที่มีความเร็ว 533-667 MHz ใช้อินเทอร์เฟชแบบซ็อกเก็ต 370 ทำงานที่ความเร็ว FSB 100-133MHz และมีเทคโนโลยี 3D Now มีหน่วยความจำแคชL1 ขนาด 128 K

การเปรียบเทียบโครงสร้างซีพียู
การเปรียบเทียบซีพียูของบริษัทอินเทลและเอเอ็มดี จะเปรียบเทียบส่วนประกอบของซีพียูแต่ละส่วนดังนี้
หน่วยความจำแคช ทั้ง 2 บริษัทจะมีหน่วยความจำแคชที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดโดยซีพียูของเอเอ็มดีทั้งดูรอนและแอธลอนต่างมีหน่วยความจำแคช L1อยู่ในตัว 128 Kb แต่ในซีพียูของอินเทลทั้งเซลเลอรอนและเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์มีเพียง 32 Kb เท่านั้น แต่หน่วยความจำแคช L2 ซีพียูของอินเทลกับมีมากกว่าของทางเอเอ็มดี โดยอินเทลบรรจุหน่วยความจำแคช L2 ไว้ 128Kb สำหรับเซลเลอรอน 256KB สำหรับเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ และ 512Kb สำหรับเพนเทียม KATMAI ส่วนเอเอ็มดีมีอยู่ 64KB สำหรับดูรอน 256Kb สำหรับธันเดอร์เบิร์ด และ 512Kb สำหรับ K7 ในเรื่องความเร็วของแคช L2 ซีพียูเซเลอรอน เพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ ดูรอนและธันเดอร์เบิร์ดมีหน่วยความจำแคช L2 เท่าความเร็วแกนกลางซีพียู ส่วน K7 มีหน่วยความจำแคช L2 ความเร็วเป็นครึ่งหนึ่งของแกนกลางซีพียู และK75 มีแคช L2 มีความเร็วเพียง 2/5 หรือ 1/3 ของความเร็วที่แกนกลางซีพียู
ความเร็วของ FSB ของเอเอ็มดีมีความเร็ว 100 MHz และสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 200 MHz ส่วนซีพียูของอินเทลจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเพนเที่ยมทรีจะมีความเร็วบัสที่ 100-133 MHz ส่วนเซลเลอรอนจะมีความเร็วบัส 66 MHz
การโอเวอร์คล็อก (OverClock)
เป็นขั้นตอนหรือวิธีการที่จะทำให้ซีพียู ไม่ทำงานที่ความเร็วตามที่ระบุไว้ในสเปกเดิมจากโรงงาน โดยทำให้ซีพียูทำงานในความเร็วสูงกว่า ทั้งสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียู และ/หรือ ของระบบบัสในซีพียู การโอเวอร์คล็อกทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การโอเวอร์คล็อกโดยทั่วไปต้องการเพียงการเปลี่ยนค่า หรือเปลี่ยนการเซ็ตจัมเปอร์เล็กน้อยบนเมนบอร์ดเท่านั้น เราก็จะระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงขึ้น บางกรณีอาจต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่ม อย่างระบบระบายความร้อนเช่น พัดลม เป็นต้น
การโอเวอร์คล็อกอาจทำให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย เช่น ความเสียหายที่เกิดกับซีพียู เนื่องจากโอเวอร์คล็อกไม่ถูกวิธี เป็นต้น ฉะนั้นการโอเวอร์คล็อกจึงควรระมัดระวัง เพราะอาจทำให้คุณต้องเสียข้อมูลหรือทรัพยากรอันมีค่าของคุณ
สรุป
ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง
หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units) คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้
1.ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด
2.แอดเดรส คือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำ
3.บัส ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัส
4.หน่วยความจำแคช แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก
5.ความเร็วสัญญาณนาฬิกา หมายถึงจำนวนรอบที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไปหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดงด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที
6.รีจิสเตอร์ เป็นหน่วยความจำไดนามิกขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ
7.ทรานซิสเตอร์ เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์
8.Arithmetic logic unit (ALU) เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ
9.Floating - Point Unit (FPU) มีหน้าที่จัดการกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม หรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วน
10. Control Unit หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ
fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู
decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit
execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม
store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม
11. Decode unit รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล
การจำแนกซีพียู ซีพียูที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมีอยู่ 3 บริษัทคือ Intel AMD และ Cyrix ซี่งซีพียูของแต่ละบริษัทจะแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆ ซึ่งอาจใช้ตัวเลขอนุกรมเป็นรหัสรุ่น เช่น 286, 386, 486 หรือใช้ชื่อเฉพาะ เช่น Pentium, Thunderbird ในแต่ละรุ่นอาจแบ่งเป็นรุ่นย่อยๆ ลงไปอีก ในแต่ละรุ่นยังแบ่งตามตามความเร็วของซีพียูอีกด้วย
ซีพียูรุ่นต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมีดังนี้- 80486
- Celeron
- Pentium II
- Pentium III
- Pentium IV
- K6-2
- K6-3- Athlon
- Athlon Thunderbird
- Duron
- VIA Cyrix MIII
การเปรียบเทียบโครงสร้างซีพียู
การเปรียบเทียบซีพียูของบริษัทอินเทลและเอเอ็มดี จะเปรียบเทียบส่วนประกอบของซีพียูแต่ละส่วนดังนี้
หน่วยความจำแคช ทั้ง 2 บริษัทจะมีหน่วยความจำแคชที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดโดยซีพียูของเอเอ็มดีทั้งดูรอนและแอธลอนต่างมีหน่วยความจำแคช L1อยู่ในตัว 128 Kb แต่ในซีพียูของอินเทลทั้งเซลเลอรอนและเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์มีเพียง 32 Kb เท่านั้น แต่หน่วยความจำแคช L2 ซีพียูของอินเทลกับมีมากกว่าของทางเอเอ็มดี โดยอินเทลบรรจุหน่วยความจำแคช L2 ไว้ 128Kb สำหรับเซลเลอรอน 256KB สำหรับเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ และ 512Kb สำหรับเพนเทียม KATMAI ส่วนเอเอ็มดีมีอยู่ 64KB สำหรับดูรอน 256Kb สำหรับธันเดอร์เบิร์ด และ 512Kb สำหรับ K7 ในเรื่องความเร็วของแคช L2 ซีพียูเซเลอรอน เพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ ดูรอนและธันเดอร์เบิร์ดมีหน่วยความจำแคช L2 เท่าความเร็วแกนกลางซีพียู ส่วน K7 มีหน่วยความจำแคช L2 ความเร็วเป็นครึ่งหนึ่งของแกนกลางซีพียู และK75 มีแคช L2 มีความเร็วเพียง 2/5 หรือ 1/3 ของความเร็วที่แกนกลางซีพียู ความเร็วของ FSB ของเอเอ็มดีมีความเร็ว 100 MHz และสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง 200 MHz ส่วนซีพียูของอินเทลจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรกเพนเที่ยมทรีจะมีความเร็วบัสที่ 100-133 MHz ส่วนเซลเลอรอนจะมีความเร็วบัส 66 MHz
การโอเวอร์คล็อก (OverClock)
เป็นขั้นตอนหรือวิธีการที่จะทำให้ซีพียู ไม่ทำงานที่ความเร็วตามที่ระบุไว้ในสเปกเดิมจากโรงงาน โดยทำให้ซีพียูทำงานในความเร็วสูงกว่า ทั้งสัญญาณนาฬิกาภายในตัวซีพียู และ/หรือ ของระบบบัสในซีพียู การโอเวอร์คล็อกทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด